สรุปภาพรวมโครงการ Thailand Culture 21 Best Practice

Thailand Culture 21 Best Practice  เป็นโครงการที่นำวัฒนธรรม เสนอขึ้นเป็นเสาหลักสำคัญในการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการบูรณาการวัฒนธรรมเข้ากับการพัฒนาเมือง การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการทำให้เมืองต่างๆ สามารถรักษามรดกทางวัฒนธรรมและการพัฒนาที่มีความรับผิดชอบทางสังคม

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศนำร่องสำหรับโครงการนี้ โดยจังหวัดภูเก็ตและสมุทรสงครามได้รับการคัดเลือกให้ทดลองใช้กรอบแนวคิด Cultural 21 Plus ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงผู้คนทุกกลุ่มให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งในแง่ของการอนุรักษ์มรดก และการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น

Thailand Culture 21 Best Practice is a project that positions culture as a vital pillar for sustainable development. It emphasizes integrating culture with urban development, tourism, and the creative economy to foster social and economic sustainability. The initiative aims to enable cities to preserve their cultural heritage while advancing socially responsible development.

Thailand is one of the pilot countries for this project, with Phuket and Samut Songkhram selected to implement the Cultural 21 Plus framework. This framework aims to connect diverse groups of people, ensuring accessibility and understanding of local cultures, focusing on both heritage conservation and local economic development.

ความสำคัญของโครงการนำร่องใน 2 เมือง ได้แก่ เมืองเก่าภูเก็ต และเมืองสมุทรสงคราม

ภูเก็ต เป็นเมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรมหลากหลายและมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เฟื่องฟู แต่การพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็วได้ท้าทายการรักษาความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวมากเกินไปจนทำให้ประเพณีและการดำเนินชีวิตท้องถิ่นถูกละเลย ดังนั้น การใช้กรอบแนวคิดจาก Cultural 21 Plus ในภูเก็ตจึงเป็นการมุ่งเน้นการฟื้นฟูพื้นที่ และกิจกรรมที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมท้องถิ่นกับการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

สมุทรสงคราม เมืองที่มีชื่อเสียงเรื่องระบบนิเวศ “สามน้ำ” ซึ่งประกอบด้วย แม่น้ำ คลอง และทะเล มีภูมิศาสตร์ที่ใกล้เมืองหลวง จึงเป็นตัวอย่างของเมืองที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรมจากการย้ายถิ่นของคนรุ่นใหม่ และการเข้ามาของผู้มาใหม่ที่ไม่คุ้นเคยกับมรดกท้องถิ่น โครงการนี้จึงมุ่งเน้นการเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่และผู้มาใหม่กับประเพณีท้องถิ่นผ่านการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางวัฒนธรรม

Significance of the Pilot Projects in Two Cities: Phuket Old Town and Samut Songkhram

Phuket is a city rich in diverse cultural heritage and thriving tourism. However, rapid urban development has challenged the preservation of its unique cultural identity. An overemphasis on tourism has often overshadowed local traditions and lifestyles. By implementing the Cultural 21 Plus framework, Phuket aims to revitalize spaces and activities that reconnect local culture with sustainable urban development.

Samut Songkhram, renowned for its “Three Waters” ecosystem comprising rivers, canals, and the sea, is geographically close to the capital. It serves as an example of a city facing social and cultural shifts due to the migration of younger generations and the influx of newcomers unfamiliar with local heritage. This project focuses on bridging the gap between younger generations, newcomers, and local traditions through cultural learning and participatory activities.

กระบวนการนำร่องในทั้งสองเมือง

ในกระบวนการนำร่องของ โครงการ Thailand Culture 21 Best Practice  ทั้งในภูเก็ตและสมุทรสงคราม มีการร่วมมือระหว่างภาครัฐ ชุมชน และภาคธุรกิจท้องถิ่น เพื่อประเมินทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของเมืองและระบุปัญหาที่ต้องการการแก้ไข ผ่านเวิร์กช็อป การอภิปราย และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยในแต่ละเมืองใช้กรอบแนวคิด Cultural 21 Plus ที่มี 6 บล็อกในการประเมินพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยคำนึงถึงสิทธิทางวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมของชุมชน ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจทางวัฒนธรรม และธรรมาภิบาลที่สามารถสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาเมืองได้

Pilot Implementation Process in Both Cities

The pilot implementation of the Thailand Culture 21 Best Practice project in Phuket and Samut Songkhram involved collaboration among government agencies, local communities, and businesses.  These stakeholders assessed cultural assets and identified challenges through workshops, discussions, and continuous activities.

Both cities employed the Cultural 21 Plus framework, which comprises six blocks to assess cultural landscapes. These blocks address cultural rights, community participation, environmental sustainability, cultural economy and governance to create a foundation for sustainable urban development.

ไฮไลท์การพัฒนาเมืองต้นแบบ

ไฮไลท์การพัฒนาเมืองภูเก็ตภายใต้คอนเซป “Spirit of Phuket”

โครงการ Spirit of Phuket มีเป้าหมายในการฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะและสร้างศูนย์กลางทางวัฒนธรรม โดยเน้นการใช้พื้นที่สาธารณะ เช่น ตลาดเก่าแก่ และแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ให้เป็นสถานที่แสดงออกทางวัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมเข้ากับกลยุทธ์การท่องเที่ยวสมัยใหม่

โครงการนี้มุ่งเน้นการสร้างพื้นที่ที่มีชีวิตชีวา โดยใช้การจัดนิทรรศการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณีท้องถิ่น เช่น การจัดแสดงงานศิลปะท้องถิ่น การทำอาหาร และกิจกรรมอื่นๆ ที่มีส่วนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นและสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

Highlights of Phuket’s Development Under the Concept “Spirit of Phuket”

The Spirit of Phuket project aims to revitalize public spaces and establish cultural hubs. It focuses on transforming public areas, such as historic markets and cultural landmarks, as venues for cultural expression. The initiative integrates cultural heritage preservation with modern tourism strategies.

This project emphasizes creating vibrant spaces through exhibitions and activities related to local traditions, such as showcasing local art, culinary events, and other cultural activities that not only promote the local economy but also foster community engagement and participation.

ไฮไลท์การพัฒนาเมืองสมุทรสงครามภายใต้คอนเซป theCultural Orientation Room”

โครงการ “the Cultural Orientation Room เมืองสมุทรสงคราม” เป็นพื้นที่ที่ออกแบบเพื่อเชื่อมโยงผู้มาใหม่กับวัฒนธรรมท้องถิ่น ผ่านการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ การเล่าเรื่อง และการจัดเวิร์กช็อป โดยเน้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของเมืองผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่าเรื่องผ่านอาหาร การทำหัตถกรรมท้องถิ่น และการแนะนำวิถีชีวิตท้องถิ่น

โครงการนี้เป็นการสร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้และการมีส่วนร่วม โดยมีเป้าหมายให้ผู้มาใหม่สามารถเข้าใจและชื่นชมในมรดกท้องถิ่นและร่วมมือในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชุมชน

Samut Songkhram’s Development Under the Concept “Cultural Orientation Room”

The Cultural Orientation Room in Samut Songkhram was designed as a space to connect newcomers with local culture through experiential learning, storytelling, and workshops. It provided information about the town’s history and cultural heritage through activities like storytelling through food, local crafts, and introducing traditional lifestyles.

This initiative aimed to create a learning and participatory space where newcomers could understand and appreciate local heritage, thereby contributing to cultural preservation within the community.

Highlights of Samut Songkhram’s Development Under the Concept “The Cultural Orientation Room”

The Cultural Orientation Room in Samut Songkhram is designed as a space to connect newcomers with local culture through experiential learning, storytelling, and workshops. It provides insights into the city’s history and cultural heritage through activities such as storytelling through food, local crafts, and introductions to traditional ways of life.

This initiative aimed to create a platform for learning and participatory space engagement, for helping newcomers understand and appreciate the local heritage, thereby contributing to cultural preservation within the community.

สรุปภาพรวม

โครงการ Thailand Culture 21 Best Practice  ในภูเก็ตและสมุทรสงครามแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของวัฒนธรรมในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยไม่เพียงแต่รักษามรดกทางวัฒนธรรม แต่ยังช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น การสร้างความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ชุมชน และภาคธุรกิจ เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

ทั้งภูเก็ตและสมุทรสงครามได้สร้างมาตรฐานสำหรับการบูรณาการวัฒนธรรมเข้ากับการพัฒนาเมือง ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยเสริมสร้างความยั่งยืนของท้องถิ่น แต่ยังเป็นต้นแบบให้กับเมืองอื่นๆ ทั่วประเทศและระดับโลกในการใช้วัฒนธรรมเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

Overview

The Thailand Culture 21 Best Practice project in Phuket and Samut Songkhram highlights the potential of culture as a driving force for sustainable urban development. It not only preserves cultural heritage but also strengthens local economic and social resilience of local communities. Collaboration among stakeholders, including the government, communities, and businesses, is a key factor in the project’s success.

Both Phuket and Samut Songkhram have set a benchmark for integrating culture into urban development. Their efforts not only enhance local sustainability but also serve as a model for other cities nationwide and globally to use culture as a catalyst for sustainable development.

Phuket Gallery

Samut Songkhram Gallery